วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

" เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ "
นครนายก สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี หลักฐาน คือแนวกำแพงเนินดิน และสันคูเมืองที่ตำบลดงละคร แต่ชื่อ “นครนายก” นั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาว่า เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออก สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในพ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครอง เป็นมณฑลนครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมือง ให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ขึ้นแทน และในช่วง พ.ศ. 2486-2489 ได้โอนนครนายกไปรวมกับจังหวัด ปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็น จังหวัดนครนายก
นครนายก เดิมชื่อว่า “บ้านนา“ เล่ากันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏเป็นที่ดอน ทำนาหรือเพาะปลูกอะไร ไม่ค่อยได้ผลและมีไข้ป่าชุกชุม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นจนที่นี่กลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือนร้อนของชาวเมืองจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกภาษีนาเพื่อ จูงใจชาวเมืองให้อยู่ที่เดิมทำให้มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น จนเป็นชุมชนใหญ่และเรียกเมืองนี้กันติดปากว่า “เมืองนายก”
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสระบุรีและนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดปทุมธานี
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอปากพลี 9 กิโลเมตร
อำเภอบ้านนา 17 กิโลเมตร
อำเภอองครักษ์ 32 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 037)

ททท.สำนักงานภาคกลางเขต 8 จ.นครนายก

311-273 , 312-284

ศาลากลางจังหวัด

311-273

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

313-615

สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง

311-285, 311-535

สถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านนา

382-013-4

สถานีตำรวจภูธรอำเภอปากพลี

399-600-1

สถานีตำรวจภูธรอำเภอองครักษ์

391-301

ตำรวจท่องเที่ยว

1155

ตำรวจทางหลวง (หินกอง)

(036) 371-222 , 371-970

หน่วยสอบสวนพุแค

(036) 222-113

สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง

311-932

ชมรมการท่องเที่ยวนครนายก

312-282-4

โรงพยาบาลนครนายก

311-219, 311-239,311-150

โรงพยาบาลบ้านนา

381-833

โรงพยาบาลปากพลี

399-504

โรงพยาบาลองครักษ์

391-399

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น