วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

จังหวัดกาญจนบุรี :: สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอเมือง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ
ไป ตามเส้นทางสายกาญจนบุรี-ศรีสวัสดิ์ บริเวณ ต.ห้วยสะด่อง กม.ที่ 11 ประมาณ 27 กิโลเมตร จากตัวเมืองกาจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอหนองปรือ อำเภอศรีสวัสดิ์ ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน และประกอบด้วยที่ราบระหว่างหุบเขา เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำแควใหญ่ ยอดเขาสูงที่สุด คือ เขาหัวโล้นสูงประมาณ 1,170 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่บริเวณตอนกลางของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จัดตั้งเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2508 นับเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทย เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง คือ 1.เส้นห้วยลำอีซู 2.เส้นห้วยสะด่อง 3.เส้นทุ่งสลักพระ และยังมีเส้นทางที่สามารถเดินไปชมทิวทัศน์ริมขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรี นครินทร์ ห้วยแม่ละมุ่น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3458 4032

โบราณสถานในเขตเมืองกาญจนบุรีเก่า
ตั้ง อยู่ในเขตตำบลลาดหญ้า ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 และเข้าทางหลวงหมายเลข 3199 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 2-3 บริเวณนี้เคยเป็นเมืองหน้าด่าน สกัดกั้นการเดินทัพของพม่าซึ่งยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. 2091-2327 สภาพปัจจุบันยังคงเหลือร่องรอยของแนวกำแพงดิน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 167 x 355 เมตร มีป้อมค่ายอยู่ทั้ง 4 มุม

โบราณสถานโดยรอบในบริเวณใกล้เคียงกัน ได้แก่

วัดป่าเลไลยก์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่าวัดผ่าอก แต่เดิมภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ภายในมณฑป ได้ถูกคนลักลอบเจาะอกพระจนทะลุ จึงได้เรียกกันว่าวัดผ่าอก ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ขึ้นแทน โบราณสถานบริเวณวัดป่าเลไลย์ ประกอบด้วย มณฑป วิหาร และเจดีย์ทรงกลมก่อด้วยอิฐสอดินฉาบปูน

วัดขุนแผน จากวัดป่าเลไลยก์ทางเข้าด้านข้าง วัดนี้เข้าไปทางค่ายฝึกสำรวจคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวัดร้างที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีพระปรางค์เป็นหลักสำคัญของวัด ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์ พระอุโบสถ เจดีย์ประจำทิศ เจดีย์ราย และวิหาร ปัจจุบันคงยังมองเห็นเฉพาะซากพระปรางค์เท่านั้น

วัดแม่หม้าย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ห่างจากวัดขุนแผนไปทางทิศตะวันออกประมาณ 300 เมตร มีโบราณสถานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทางด้านทิศเหนือประกอบด้วยเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่มีฐานประทักษิณ วิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันตก และกลุ่มทางด้านทิศใต้ประกอบด้วย วิหารขนาดกลาง เจดีย์ราย และกำแพงแก้วล้อมรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทั้งสองกลุ่มมีสระล้างกระดูกอยู่ระหว่างกลาง

นอกจากนี้ยังมีวัดนางพิมหรือวัดกาญจนบุรีเก่า รวมอยู่ในบริเวณนั้นด้วย

วัดถ้ำมังกรทอง
อยู่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร บนฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งอยู่เชิงเขา วัดนี้สร้างขึ้นในปี 2447 เหตุที่ได้ชื่อว่าถ้ำมังกรทองก็เนื่องจากมีถ้ำขนาดเล็กอยู่บนยอดเขา โดยราวบันไดขึ้นสู่ถ้ำสร้างเป็นรูปมังกรสองตัวขนาดใหญ่ขนานกันไปจนสุดทางที่ ปากถ้ำ มีบันไดทั้งหมด 95 ขั้น ที่ตรงปากถ้ำมีหินใหญ่ทำเป็นหน้าสิงโตดูน่าเกรงขาม วัดถ้ำมังกรทองยังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เกี่ยวกับการทำสมาธิลอยตัวในน้ำ ที่เยกกันว่า "แม่ชีลอยน้ำ" โดยเสียค่าเข้าชม(ทำบุญ) 10 บาทต่อคน มีผู้สนใจมาชมการแสดงลอยตัวในน้ำเป็นประจำ

การเดินทาง จากถนนแสงชูโตใช้เส้นทางที่แยกซ้ายจากหน้าศาลากลางจังหวัดไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองไปยังวัดถ้ำมังกรทอง

วัดถ้ำเขาปูน
อยู่ เลยสุสานสัมพันธมิตรช่องไก่ไปประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของค่ายเชลยศึกขนาดใหญ่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีถ้ำขนาดกลางอยู่ในบริเวณวัด ซี่งภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ ด้านหลังวัดติดริมน้ำ มีพระสังกัจจายน์องค์ใหญ่อยู่บนยอดเขา

วัดถ้ำพุหว้า
ตั้ง อยู่ตำบลหนองหญ้า วัดนี้เป็นสาขาหนึ่งของวัดปากน้ำ บรรยากาศโดยรอบสะอาดร่มรื่น เงียบสงบ สวยงาม ลักษณะภูมิประเทศโอบล้อมด้วยภูเขาและป่าไม้ ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยงดงาม มีพระพุทธรูปปางสมาธิประดิษฐานเป็นประธาน และถ้ำนี้ยังใช้เป็นพระอุโบสถเพื่อใช้ในพิธีอุปสมบทอีกด้วย การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 3229 ประมาณกิโลเมตรที่ 17

วัดถ้ำพุทธาวาส (ถ้ำพุพระหรือวัดถ้ำขุนแผน)
เป็น ถ้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนภูเขาสูงมีตำนานเล่าว่า ขุนแผนได้นำเอากุมารทองมาย่างในถ้ำนี้ ถ้ำพุพระอยู่บนเส้นทางสายกาญจนบุรี-ไทรโยค (ทางหลวงหมายเลข 323) ตรงกิโลเมตรที่ 7-8 เยื้องสถาบันราชภัฏกาญจนบุรี แยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร มีรถประจำทางสายกาญจนบุรี-ไทรโยค วิ่งผ่านปากทางไปสู่ถ้ำนี้ด้วย โดยจะต้องเดินเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (สวนหิน)
ตั้ง อยู่ที่ทุ่งนาคราช ตำบลหนองหญ้า ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกาญจนบุรี มีเนื้อที่ 600 ไร่ ประชาชนทั่วไป เรียกว่า สวนหินหรืออุทยานหิน บริเวณโดยรอบมีหินงอกขนาดเล็กใหญ่ลักษณะต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตั้งเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมากอย่างมีระเบียบ และยังเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าชนิดต่างๆ อีกด้วย

การเดินทาง สามารถเดินทางจากถนนแสงชูโต ข้ามสะพานสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร โดยผ่านสุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่ วัดถ้ำเขาปูนไปไม่ไกลนักจะพบสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์

สวนสัตว์เลี้ยงกาญจนบุรี
ตั้ง อยู่ที่บ้านพุประดู่ ตำบลหนองบัว ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 3229 กิโลเมตรที่ 16–17 จะมีทางแยกเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร สวนสัตว์เลี้ยงกาญจนบุรีเป็นสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ย้ายมาจากทุ่งสีกัน บนพื้นที่ 38 ไร่ ปัจจุบันมีสุนัขมากที่สุด นอกนั้นจะเป็นแมว โค กระบือ แพะ และแกะ เหมาะสำหรับผู้ที่รักสัตว์ สามารถมาขอรับสุนัขไปเลี้ยงได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1763 3467, 0 1914 3444

สะพานข้ามแม่น้ำแคว
ตั้ง อยู่ที่ตำบลท่ามะขาม ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายชี้บอกทางไว้ชัดเจน เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดาและนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คนและกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดียอีกจำนวนมากมาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงคราม และโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง

นอกจากนี้ ที่สะพานข้ามแม่น้ำแควมีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดาจะมีตั้งแต่เวลา 08.00-19.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น., และ 18.00-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น., และ18.00-18.30 น. ค่าโดยสารคนละ 20 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3451 1200, 0 3451 2500

หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2
ตั้ง อยู่ไม่ไกลจากสะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสถานที่เก็บรักษา สิ่งที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ โครงกระดูกของเชลยสงคราม และภาพถ่ายเหตุการณ์ในสมัยนั้น นอกจากนี้บางส่วนยังจัดทำเป็นหอศิลป์ เก็บรวบรวมสิ่งของต่างๆ เช่น แสตมป์ ไปรษณียบัตรโบราณ เพชร พลอย และเครื่องประดับ เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00–18.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3451 2596

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
ตั้ง อยู่ที่สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี ตำบลหนองบัว บนถนนสายกาญจนบุรี-ไทรโยค (ทางหลวงหมายเลข 323) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นล่างจัดแสดงเครื่องใช้ภายในครัวเรือน เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ เครื่องมือในการจับปลา ชั้นบนมีห้องประวัติศาสตร์ ห้องศาสนาและประเพณี มีหนังสือไทยโบราณและศิลปะวัตถุต่างๆ ด้านข้างอาคารศูนย์ฯ มีหลุมขุดค้นทางประวัติศาสตร์ ศูนย์วัฒนธรรมฯ เปิดให้ชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี โทร. 0 3463 3227-8 ต่อ 650 โทรสาร 0 3463 3224

สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่ (Chungkai War Cemetery)
สุสาน แห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย บริเวณท่าน้ำเมืองกาญจนบุรี ห่างจากตัวเมืองไปทางแม่น้ำแควน้อยประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปโดยขับรถข้ามสะพานสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรที่ท่าน้ำหน้า เมือง สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่เคยเป็นที่ตั้งของค่ายเชลยศึกขนาดใหญ่ บริเวณสุสานสงบและสวยงาม มีขนาดเล็กกว่าสุสานดอนรัก บรรจุศพทหารเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารอังกฤษ ประมาณ 1,740 หลุม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.cwgc.org/

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก
ตั้ง อยู่ริมถนนแสงชูโต (ทางหลวงหมายเลข 323) ก่อนจะเข้าตัวเมือง สุสานแห่งนี้เป็นสุสานของเชลยศึกสัมพันธมิตรที่เสียชีวิตในระหว่างการสร้าง ทางรถไฟสายมรณะ บริเวณสุสานมีเนื้อที่กว้างขวางสวยงามและเงียบสงบ ชวนให้รำลึกถึงเหตุการณ์การสู้รบและผลลัพธ์ที่ตามมา สุสานแห่งนี้บรรจุศพทหารเชลยศึกถึง 6,982 หลุม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3451 1500

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ
ตั้ง อยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ตำบลช่องสะเดา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 45 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 323 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3199 (กาญจนบุรี-เขื่อนศรีนครินทร์) ประมาณกิโลเมตรที่ 24 เป็นสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ซึ่งเป็นสงครามครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เพื่อป้องกันการรุกรานของพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในปี พ.ศ. 2328 ชัยชนะในสงครามครั้งนี้โดยเฉพาะในสมรภูมิทุ่งลาดหญ้า ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราช และดำรงความเป็นชาติมาถึงปัจจุบัน ภายในอาคารจะเป็นตู้จำลองเหตุการณ์ และโต๊ะทรายแสดงภูมิประเทศ จำลองเส้นทางการเดินทัพของข้าศึก นอกจากนี้ยังมีหอสังเกตการณ์ เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจประวัติศาสตร์ เข้าใจการเลือกใช้ภูมิประเทศในการเดินทัพ และจุดสกัดกั้นทัพพม่าได้ชัดเจนขึ้น เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. (ไม่เสียค่าเข้าชม) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายยุทธการจังหวัดทหารบกกาญจนบุรี โทร. 0 3458 9233-5 ต่อ 51015-6 โทรสาร 0 3458 9236

กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์
มี โครงการท่องเที่ยวในเขตทหารเพื่อบริการประชาชนผู้สนใจทั่วไป ภายในค่ายมีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ อนุสาวรีย์ขุนรัตนาวุธ ผู้นำกองทหารดาบทลวงฟันสมัยสงครามเก้าทัพ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม สวนสัตว์ และมีกิจกรรมผจญภัยที่น่าท้าทายหลายอย่างได้แก่ ไต่หน้าผา กระโดดหอ สนามประลองยุทธยิงปืน Paint Ball จักรยานเสือภูเขา เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดตั้งแต่ 8.30-17.00 น.

ค่ายฝึกเขาชนไก่
ตั้ง อยู่ที่ตำบลลาดหญ้า ห่างจากกรุงเทพฯ 150 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 3199 (กาญจนบุรี-เขื่อนศรีนครินทร์) ประมาณ 3 กิโลเมตร ห่างจกตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นสถานที่ฝึกภาคสนามของนักศึกษาวิชาทหาร ในเวลาเสร็จสิ้นการฝึก จะเปิดเป็นค่ายฝึกสำหรับประชาชนทั่วไปได้เข้าชม พร้อมทั้งสนุกกันกิจกรรมทดสอบกำลังใจของทหาร เช่น การโดดหอสูง การยิงปืน การไต่เชือกข้ามลำน้ำ ชมพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และยังมีบริการที่พักไว้บริการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานท่องเที่ยวกรมการรักษาดินแดน โทร. 0 2221 2871 หรือ สำนักงานท่องเที่ยวเขาชนไก่ โทร. 0 3458 9237

ต้นจามจุรียักษ์
อยู่ บนเส้นทางไปอำเภอด่านมะขามเตี้ย บ้านกสิกรรม หมู่ 5 ต.เกาะสำโรง หากมาจากวัดถ้ำมังกร เลยจากวัดถ้ำมังกรไปประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าไปในกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 (กองผสมสัตว์) กรมการสัตว์ทหารบก ผ่านวัดถ้ำมุนีย์นาถ แล้วเลี้ยวขวา ต้นจามจุรียักษ์มีอายุมากกว่า 100 ปี ขนาด 10 คนโอบ รัศมีทรงพุ่มเฉลี่ย 25.87 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางร่มเงาประมาณ 51.75 เมตร ความสูงเรือนยอด 20 เมตร มีพื้นที่ของพุ่มประมาณ 1 ไร่ 2 งาน 4 วา มีทรงพุ่มแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โตสวยงามร่มรื่น ซึ่งปัจจุบันหาชมต้นไม้ขนาดใหญ่เช่นนี้ได้ยาก

ถ้ำมะเดื่อ
อยู่ ในบริเวณวัดถ้ำมะเดื่อ ตำบลบ้านเก่า ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร การเดินทาง จากป้อมตำรวจบ้านเก่า ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำแควน้อย ไปตามทางหลวงหมายเลข 3445 ประมาณ 8 กิโลเมตรถึงค่ายไทรโยค เข้าไปในค่ายไทรโยคประมาณ 3 กิโลเมตร เมื่อเดินทางไปควรติดต่อกับทางวัด โดยทางวัดได้ติดตั้งไฟไว้ เพื่อให้เห็นสภาพภายในถ้ำที่มีเนื้อที่กว้างขวาง มีหินงอกหินย้อยสวยงามแตกต่างกันไป ต้องใช้เวลาชมประมาณ 1 ชั่วโมง

ทางรถไฟสายมรณะ
ทาง รถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรีข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตันบูซายัด ประเทศพม่า รวมระยะทางในเขตประเทศไทย 300 กิโลเมตร ใช้เวลาในการสร้างเสร็จเพียง 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า หลังสงครามทางรถไฟบางส่วนถูกเลาะทิ้ง บางส่วนจมอยู่ใต้ทะเลสาบเขื่อนเขาแหลม ทางรถไฟสายนี้ ถือเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงเหตุการณ์สงครามในครั้งนั้น จากน้ำพักน้ำแรงของการบุกเบิกก่อสร้าง ของทหารเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มา ทิวทัศน์ตลอดเส้นทางนี้สวยงามมาก โดยเฉพาะบริเวณถ้ำกระแซ ที่เส้นทางรถไฟจะลัดเลาะไปตามเชิงผาเลียบไปกับลำน้ำแควน้อย ปัจจุบันทางรถไฟสายนี้สุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตก ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดบริการเดินรถบนเส้นทางสายนี้ทุกวัน และจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020 หรือที่ 1690 หรือที่เว็บไซต์ http://www.railway.co.th/

ประตูเมือง
ตั้ง อยู่กลางเมืองกาญจนบุรี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2374 ซึ่งพระองค์ได้ทรงย้ายมาจากเมืองกาญจนบุรีเก่า ตำบลลาดหญ้า มาอยู่ในที่ปัจจุบัน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า
ตั้ง อยู่ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 35 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 323 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3229 แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3455 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าทางวัดท่าโป๊ะประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นที่ขุดพบหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับมนุษย์สมัยหิน ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2506 สิ่งที่ค้นพบ ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ ขวานหิน เครื่องประดับและเครื่องปั้นดินเผา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3465 4058

พิพิธภัณฑ์สงครามอักษะและเชลยศึก (THE JEATH WAR MUSEUM)
จัด ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เชลยศึกที่เสียชีวิต เพราะการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะกว่า 16,000 คน ตั้งอยู่ในวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อยู่ห่างจากถนนแสงชูโต ประมาณ 300 เมตร ตัวอาคารสร้างเป็นกระท่อมไม้ไผ่เลียนแบบค่ายเชลยศึกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมภาพถ่าย ภาพเขียน และบทความที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของเชลยศึก ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ อาวุธปืนและลูกระเบิดในสมัยนั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นบทเรียนอันน่าสะพรึงกลัวของสงคราม เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.30–16.30 น. ค่าเข้าชมชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3451 1263

พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย-พม่า
ตั้ง อยู่ใกล้กับสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายไทย-พม่า เริ่มตั้งแต่การเข้ามาของญี่ปุ่น การออกแบบและการสร้างทางรถไฟ สภาพภูมิศาสตร์ของทางรถไฟ สภาพชีวิตในค่ายเชลยศึก ด้านการแพทย์ ค่าของสงคราม การปฏิบัติการของทางรถไฟ การทิ้งระเบิดและการทำลายทางรถไฟ และเหตุการณ์หลังจากสงครามยุติ พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 60 บาท เด็ก (อายุต่ำกว่า 12 ปี) 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3451 0067, 0 3451 2721 หรือ http://www.tbrconline.com/ หรือ E-mail: admin@tbrconline.com



จังหวัดกาญจนบุรี :: ข้อมูลทั่วไป
กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางที่มีผู้คนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว เต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจ เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ตั้งของสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำหรือน้ำตก
กาญจนบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่ามีทั้งป่าโปร่ง และป่าดงดิบ มีแม่น้ำสำคัญสองสายคือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ที่บริเวณอำเภอเมืองกาญจนบุรี กาญจนบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา
ประวัติและความเป็นมา :
พื้นที่ กว้างใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้ง จ.กาญจนบุรี ในปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมา ที่ต่อเนื่อง และยาวนาน ประวัติ หน้าสุดท้ายของกาญจนบุรี ย้อนกลับไปเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์หน้าแรก ได้อย่างบังเอิญ เมื่อเชลยศึก ที่ถูกเกณฑ์ มาสร้างทางรถไฟคนหนึ่ง ค้นพบเครื่องมือหิน ของมนุษย์ ก่อนประวัติศาสตร์ ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟ บริเวณ สถานีบ้านเก่า ต.จระเข้เผือก อ.เมือง ทำให้เกิดการขุดค้นทางโบราณคดี และสามารถ ค้นพบหลักฐานของ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก แม้จนถึงปัจจุบันยังขุดพบอยู่
ใน สมัยทวารวดี ซึ่งอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์ ของ ประเทศไทย พบซาก โบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ที่ ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี (ปัจจุบัน เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนเขาแหลม ) ซึ่งเป็นเจดีย์ ลักษณะเดียวกับ จุลประโทณเจดีย์ จ.นครปฐม เจดีย์ ที่บ้านคูบัว จ.ราชบุรี และที่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นอกจากนี้ ยังพบฐาน เจดีย์ และ พระพิมพ์ สมัยทวารดี จำนวนมาก ที่ บ้านท่าหวี ริมแม่น้ำแควใหญ่ ต.ลาดหญ้า อ.เมือง อีกด้วย แสดงว่าในสมัยนั้น พื้นที่ ริมแม่น้ำหลายแห่ง ซึ่งเป็นเส้นทาง คมนาคม สำคัญ มีชุมชน หรือ เมืองโบราณ ซึ่ง มีความสัมพันธ์ กับชุมชน โบราณ ใกล้เคียงกัน
ใน สมัย พุทธศตวรรษ ที่ 16-18 ขอม ได้แผ่อิทธิพล เข้ามาใน ประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานสำคัญ คือ ปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็น ศิลปะขอม สมัยบายน มีอายุในช่วงสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพุทธศตวรรษที่ 18 นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานที่เป็นศิลปะขอม สมัยเดียวกัน ที่เมืองครุฑ และ เมืองกลอนโด อ.ไทรโยค
ใน สมัย สุโขทัย พบหลักฐาน ในพงศาวดารเหนือ ว่า กาญจนบุรี ตกเป็นเมืองขึ้น ของ สุพรรณบุรี ตามที่กล่าวว่า พญากง ได้มาครอง เมือง กาญจนบุรี แต่ก็ไม่มีหลักฐานอื่น มาสนับสนุน ต่อมา ในสมัย อยุธยา กาญจนบุรี มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ โดยตัวเมือง ตั้งอยู่ ที่บ้านท่าเสา ต.ลาดหญ้า ใกล้เขาชนไก่ และ ยังปรากฏ หลักฐาน เป็นซากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ ดังที่เห็นในปัจจุบัน
กาญจนบุรี ยังคงเป็นเมืองหน้าด่าน สืบเนื่องมาจนถึง สมัยกรุงธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ โดย ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมือง กาญจนบุรี มาตั้งใหม่ ที่บ้าน ปากแพรก เพื่อมาตั้งรับทัพ พม่า ที่เดินทัพ ลงมาตามลำน้ำแม่กลอง เพื่อเข้าตี กรุงเทพฯ ได้มีการสร้างกำแพงล้อมรอบเมือง อย่างมั่นคง ใน สมัยรัชกาลที่ 3 และให้มีเจ้าเมือง คือ พระประสิทธิสงคราม นอกจากนั้น ยังตั้งหัวเมืองเล็กๆ ตามรายทาง เป็นหน้าด่านอีกเจ็ดแห่ง
สมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองประเทศใหม่ เป็นมณฑลเทศาภิบาล เมือง กาญจนบุรี ถูกโอนมาขึ้นกับมณฑล ราชบุรี และ แบ่งการปกครองเป็นสามอำเภอ คือ อ.เมือง อ.เหนือ (ปัจจุบันคือ อ.ท่าม่วง) และ อ.ใต้ (ปัจจุบัน คือ อ.พนมทวน) และต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2467 ได้ตั้งอำเภอเพิ่มอีกสองแห่ง คือ อ.ท่ามะกา และ อ.ทองผาภูมิ กับ กิ่ง อ.สังขละบุรี
ใน ช่วงสงคราม มหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่น ตัดสินใจสร้างทางรถไฟ สาย ไทย - พม่า เชื่อมจากสถานีหนองปลาดุก จ.ราชบุรี ผ่าน กาญจนบุรี เลาะริมแม่น้ำแควน้อย ไปเชื่อมกับ ทางรถไฟ ที่สร้างมาจาก พม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นทางรถไฟ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และมีผู้คนจำนวนมาก เดินทางมาเยี่ยมชม เพื่อคาราวะ ต่อดวงวิญญาณ ผู้เสียชีวิต และรำลึก ถึงความโหดร้าย ทารุณ ของสงคราม
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตากและสหภาพเมียนม่าร์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับสหภาพเมียนม่าร์
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง -- กิโลเมตร
อำเภอท่าม่วง 12 กิโลเมตร
อำเภอพนมทวน 24 กิโลเมตร
อำเภอท่ามะกา 30 กิโลเมตร
อำเภอด่านมะขามเตี้ย 30 กิโลเมตร
อำเภอบ่อพลอย 40 กิโลเมตร
อำเภอไทรโยค 50 กิโลเมตร
อำเภอห้วยกระเจา 64 กิโลเมตร
อำเภอหนองปรือ 75 กิโลเมตร
อำเภอเลาขวัญ 98 กิโลเมตร
อำเภอศรีสวัสดิ์ 102 กิโลเมตร
อำเภอทองผาภูมิ 145 กิโลเมตร
อำเภอสังขละบุรี 230 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 034)

งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท.

02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773

ททท.ภาคกลาง เขต 1 (กาญจนบุรี)

034-511-200 , 034-512-500

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

034-512-410 , 034-514-756

ตำรวจท่องเที่ยว

034-512-795

สภ.อ.เมืองกาญจนบุรี

034-621-040-2

สภ.อ.ด่านมะขามเตี้ย

034-642-098

สภ.ต.ด่านแม่แฉลบ

034-597-067

สภ.อ.ทองผาภูมิ

034-599-120 , 034-599-113

สภ.อ.ท่าม่วง

034-611-888 , 611-020

สภ.อ.ท่ามะกา

034-541-040 , 034-640-579

สภ.ต.ท่าเรือ

034-561-030

สภ.อ.ไทรโยค

034-591-030 , 034-591-026

สภ.อ.บ่อพลอย

034-581-244

สภ.อ.พนมทวน

034-579-053 , 034-579-303-4

สภ.ต.ลาดหญ้า

034-589-244

สภ.ต.ลูกแก

034-566-068

สภ.อ.เลาขวัญ

034-576-119 , 034-576-331

สภ.อ.ศรีสวัสดิ์

034-574-220

สภ.อ.สังขละบุรี

034-595-300

สภ.ต.หนองขาว

034-586-113

สภ.อ.หนองปรือ

034-645-234

สภ.อ.ห้วยกระเจา

034-650-042

รพ.กาญจนบุรีเมมโมเรียล

034-624-189-93

รพ.ชนะกาญจน์

034-622-366

รพ.พหลพลพยุหเสนา

034-511-233 , 034-622-999

รพ.แสงชูโต

034-621-127

รพ.เจ้าคุณไพบูลย์พนมทวน

034-630-409

รพ.ด่านมะขามเตี้ย

034-642-102-3

รพ.ท่ากระดาน

034-516-535

รพ.ท่าม่วง

034-611-033 , 034-626-268-9

รพ.ท่าเรือ

034-561-084 , 034-561-335

รพ.ไทรโยค

034-591-034

รพ.บ่อพลอย

034-581-139 , 034-581-160

รพ.พระบารมี

034-645-234

รพ.มะการักษ์

034-542-031 , 034-542-035

รพ.เลาขวัญ

034-576-050

รพ.สังขละบุรี

034-595-058

สำนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรี

034-511-502-2

ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี

034-511-040 , 034-622-952

บริษัท ขนส่ง จำกัด

034-511-387

สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี

034-511-182

สถานีรถไฟกาญจนบุรี

034-511-285

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น